เมื่อพูดถึง ESG investing หรือการลงทุนที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อม (E) สังคม (S) และธรรมาภิบาล (G) หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ค่อยเห็นภาพว่าเราจะนำวิธีการเชิงปริมาณหรือ quantitative method มาประยุกต์ใช้ได้อย่างไร ในบทความนี้เรามาดูกันว่า quantitative method จะมาช่วยจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ ของ ESG investing ได้อย่างไรบ้าง
อันดับแรก เราสามารถนำ modern portfolio theory ซึ่งเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้าง portfolio ที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดภายใต้ค่าความเสี่ยงหนึ่ง ๆ มาประยุกต์ใช้กับ ESG investing ได้โดยตรง แต่แทนที่จะ optimize ผลตอบแทนจากการลงทุนเพียงอย่างเดียว เราสามารถนำปัจจัยด้าน ESG ที่เราสนใจเข้ามารวมในกระบวนการ optimization เพื่อหา ESG-alpha efficient frontier ได้ด้วย ถึงแม้ว่าการเพิ่ม ESG score ของ portfolio จะทำให้ผลตอบลดลง แต่เนื่องจากนักลงทุนแต่ละคนให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความยั่งยืนแตกต่างกันไป ดังนั้นเราสามารถใช้ ESG-alpha efficient frontier ในการสร้าง portfolio ที่เหมาะกับการให้คุณค่าของนักลงทุนแต่ละคนได้
อันดันที่สอง ความท้าทายใหญ่ของ ESG investing คือเรื่องข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นในด้านของปริมาณข้อมูลที่มีอยู่น้อย การขาดมาตรฐานการรายงานข้อมูลให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันในแต่ละบริษัท รวมถึงด้านคุณภาพของตัวข้อมูลเองจากการใช้วิธีคำนวณที่ไม่เหมือนกัน ในส่วนนี้ เราสามารถนำ quantitative model มาช่วยจัดการกับความท้าทายทั้งสามเรื่องนี้ได้ ตัวอย่างเช่น ใช้ในการวิเคราะห์ unstructured data เพื่อเพิ่ม insight แก่นักลงทุน ใช้ระบุบริษัทที่เป็น outlier ในเชิง ESG หรือใช้ในการประมาณค่าข้อมูลที่ไม่สามารถหาได้ เป็นต้น
อันดับต่อมาเกี่ยวข้องกับระดับความสำคัญของตัวแปรด้าน ESG แต่ละตัวที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัท หรือที่เรียกว่า materiality ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะกำหนดตามกลุ่มอุตสาหกรรมของบริษัทนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันจะมีโครงสร้างธุรกิจที่แตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้ materiality ของตัวแปร ESG มีความแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นการกำหนด materiality ตามกลุ่มอุตสาหกรรมอาจจะให้ผลลัพธ์ที่คลาดเคลื่อนได้ ในกรณีนี้ เราสามารถประยุกต์วิธีการทาง contextual modeling สำหรับการหา materiality ของตัวแปรได้ด้วยการทดสอบทางสถิติโดยไม่ต้องคำนึงถึงกลุ่มอุตสาหกรรมของบริษัท
และสุดท้าย ถึงแม้ว่าจะมีการให้ ESG rating จากผู้ให้บริหารหลาย ๆ รายที่นักลงทุนสามารถนำไปใช้พิจารณาประกอบการเลือกลงทุนได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นและทำให้นักลงทุนเกิดความสับสนก็คือ rating จากผู้ให้บริการแต่ละรายมักจะไม่ค่อยสอดคล้องกันเนื่องจากวิธีการคิดคำนวณแตกต่างกัน และถึงแม้จะมีการระบุ methodology เอาไว้ แต่ก็ยังไม่ละเอียดพอที่คนภายนอกจะสามารถทำซ้ำได้ ซึ่งเราสามารถใช้ quantitative method ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น linear regression model ในการศึกษา rating เหล่านี้บนพื้นฐานของข้อมูลที่เรามี เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการสร้างและความแตกต่างของ rating ของผู้ให้บริการแต่ละรายให้มากขึ้น และยังอาจจะสามารถนำไปใช้ประมาณค่าและทำนาย rating เหล่านี้ได้อีกด้วย
สำหรับผู้สนใจที่อยากจะศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ quantitative method กับ ESG investing ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดทางคณิตศาสตร์หรือตัวอย่างเพิ่มเติมต่าง ๆ สามารถศึกษาจาก reference ด้านล่างนี้ได้เลยครับ
References
[1] Sorensen, E., Chen, M., & Mussalli, G. (2021). The quantitative approach for sustainable investing. The Journal of Portfolio Management, 47(8), 38-49.
[2] Chen, M., & Mussalli, G. (2020). An integrated approach to quantitative ESG investing. The Journal of Portfolio Management, 46(3), 65-74.
Comments