อัตราผลตอบแทนและอัตราคิดลดมีอยู่ในแบบจำลองทางการเงินมากมาย ทำให้เป็นคำถามที่สำคัญว่าเราควรใช้อัตราผลตอบแทนและอัตราคิดลดเท่าไหร่ดีเพื่อให้สามารถประเมินราคาที่ควรจะเป็นของสินทรัพย์ได้ดีที่สุด
โดยมากเรามักจะสมมุติให้อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเท่ากันตลอดทุกช่วงระยะเวลา คำถามที่สำคัญคือสมมุติฐานนี้จริงหรือไม่ ในบทความนี้เราจะมาหารือถึง โครงสร้างความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนและเวลากัน
ทฤษฏีที่อธิบายถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนและเวลา
โครงสร้างความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนและเวลา มีแนวคิดเริ่มต้มมาจากการพยายามอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยและเวลาที่จะครบกำหนดสำหรับตราสารหนี้ที่กำหนด เช่น พันธบัตร กล่าวอีกนัยหนึ่ง มันอธิบายว่าอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามระยะเวลาครบกำหนดของหนี้อย่างไร แต่พันธบัตรมักจะใช้เป็นตัวแทนของอัตราดอกเบี้ยชดเชยจากการไม่ได้ใช้เงินทุนที่ปราศจากความเสี่ยงเพราะมีความเสี่ยงตำ่ โดยทฤษฏีกลักที่อธิบายโครงสร้างความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนและเวลานั้นมีสองทฤษฏีหลักคือทฤษฏีตลาดแยกส่วนและทฤษฏีความคาดหวัง
ทฤษฏีตลาดแยกส่วน
ทฤษฏีตลาดแยกส่วนมีใจความสำคัญคือในแต่ละช่วงเวลาอัตราดอกเบี้ยจะเป็นอิสระต่อกันกล่าวคือดุลยภาพของอัตราผลตอบแทนในแต่ละช่วงเวลาจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของช่วงเวลานั้นและไม่ได้รับผลซึ่งกันและกันแม้ว่าจะได้รับส่วนชดเชยเพิ่มเติมก็ตาม
ทฤษฏีตลาดแยกส่วนจะดูเหมือนเข้าใจง่ายและวิเคราะห์แต่สมมุติฐานดังกล่าวอาจจะไม่สมเหตุสมผลในโลกแห่งความเป็นจริงเพราะหากอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่งเพิ่มขึ้นในขณะที่ผลตอบแทนช่วงระยะเวลาอื่นคงที่นักลงทุนก็มีแนวโน้มมาลงทุนในช่วงเวลาดังกล่าวเพิ่มขึ้นในขณะเดี่ยวกันหากอัตราผลตอบแทนของช่วงเวลาใดลดลงผู้ต้องการเงินทุนก็มีแนวโน้มจะมาระดมทุนในช่วงเวลานั้น
ทฤษฏีความคาดหวัง
จากข้อจำกัดของทฤษฏีตลาดแยกส่วนทำให้ทฤษฏีตลาดแยกส่วนถูกนำมาใช้มากกว่าโดยทฤษฏีความคาดหวังมีใจความว่าอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคต ดังนั้นหากอัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคตปรับตัวสูงขึ้นโครงสร้างดอกเบี้ยจะมีลักษณะเพิ่มขึ้น
ปัญหาของการสมมุติฐานแบบนี้คือเราละเลยการคำนึงถึงความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจึงมีการตีความทฤษฏีนี้แบบแคบลงที่เชื่อว่าอัตราผลตอบแทนระยะสั้นจะเท่ากันทั้งหมด กล่าวคือนักลงทุนไม่ว่าจะซื้อตราสารหนี้อายุเท่าใดก็ตามหากถือในเวลาสั้นๆ(เช่น 6 เดือน)จะได้ผลตอบแทนเท่ากัน
เราจะเห็นได้ว่าแม้การตีความแบบแคบจะทำให้ทฤษฏีความคาดหวังอธิบายผลตอบแทนในคละช่วงเวลาได้แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายผลตอบแทนในระยะยาวได้อยู่ดีจึงทำให้เกิดการอธิบายเพิ่มเติมในทฤษฏีสภาพคล่องและทฤษฏีตลาดนิยม
ทฤษฏีสภาพคล่อง
ทฤษฏีสภาพคล่องมีใจความว่าการลงทุนในระยะเวลาที่ยาวกว่าจะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นทำให้นักลงทุนต้องการส่วนชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นดังนั้นอัตราผลตอบแทนของระยะเวลาที่ยาวกว่าจะต้องมากกว่าระยะสั้นเสมอ
แม้ว่าทฤษฏีสภาพคล่องจะสามารถอธิบายอัตราผลตอบแทนระยะยาวในภาวะปกติได้แต่ อัตราผลตอบแทนของระยะเวลาที่ยาวกว่าไม่จำเป็นต้องมากกว่าระยะสั้นเสมอไป
ทฤษฏีตลาดนิยม
ทฤษฏีตลาดนิยมกล่าวว่าอัตราผลตอบแทนในระยะยาวจะขึ้นอยู่กับค่าความคาดหวังในอัตราดอกเบี้ยในอนาคตและส่วนชดเชยความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องการ แต่ทฤษฏีตลาดนิยมจะได้จำกัดว่า อัตราผลตอบแทนของระยะเวลาที่ยาวกว่าจะต้องมากกว่าระยะสั้นเสมอ จึงอธิบายผลตอบแทนได้ดีขึ้น
ทิ้งท้าย
โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนและเวลา มีทฤษฏีที่อธิบาย 2 ทฤษฏีหลัก คือทฤษฏีตลาดแยกส่วน และทฤษฏีความคาดหวัง และในทฤษฏีความคาดหวังก็ยังแบ่งเป็นแนวคิดย่อยได้อีกด้วย การใช้อัตราผลตอบแทนที่ต้องการขั้นตำ่ในแบบจำลองต่างๆจึงต้องคำนึงถึงระยะเวลาด้วย
Comments