แบบจำลอง Arbitrage Pricing Theory ถูกพัฒนาโดยอาจารย์ Stephen Ross ในปี 1976 โดยพัฒนามาจากแนวคิดกฏการมีราคาเดี่ยว (Law of one price) ที่กล่าวว่าสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสามารถเทียบเคียงกันได้ทางการเงินควรจะมีราคาเท่ากัน ดังนั้น เมื่อค้นพบหลักทรัพย์ที่มีราคาแตกต่างกัน ผู้ลงทุนจะซื้อขายหลักทรัพย์เหล่านั้นเพื่อทำกำไรโดยไร้ความเสี่ยง (Arbitrage) จนราคาเข้าสู่ดุลยภาพ
สมมติฐานในการพัฒนาแบบจำลอง APT
แบบจำลอง Arbitrage Pricing Theory ตั้งอยู่บนสมมุตฐานดังต่อไปนี้
ตลาดทุนอยู่ในสภาวะดุลยภาพและเป็นตลาดเเข่งขันสมบูรณ์
ในสภาวะที่แน่นอนผู้ลงทุนชอบความมั่งคั่งที่สูงกว่าความมั่งคั่งที่ต่ำกว่าเสมอ
กระบวนการ Stochastic ที่ก่อให้เกิดกำไรจากการลงทุน สามารถแสดงได้ในรูปของฟังก์ชันเส้นตรงของปัจจัยต่าง ๆ กลุ่มหนึ่ง (Linear function of factors)
ผู้ลงทุนมีความเห็นเกี่ยวกับการระบุปัจจัยที่สำคัญในการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่สอดคล้องกัน
ผู้ลงทุนกลัวความเสี่ยง
CAPM VS. APT
ปัจจัยกำหนดอัตราผลตอบแทน ในแบบจำลอง CAPM การเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนของของส่งผลกระทบกับอัตราผลตอบแทนของแต่ละหลักทรัพย์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่าเบต้าเพี่ยงปัจจัยเดียว ซึ่งคือความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนส่วนเกินของสินทรัพย์เทียบกับของตลาด ส่วนแบบจำลอง APT เเสดงความสัมพันธ์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงในรูปของปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายปัจจัย
กลุ่มหลักทรัพย์ตลาด CAPM การหาผลตอบแทนขึ้นอยู่กับผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพย์ตลาด ด้าน APT ไม่จำเป็น
ผลของการกระจายการลงทุนเป็นอย่างดี ทั้งแบบจำลอง CAPM และ APT กล่าวว่า การกระจายตัวเป็นอย่างดีจะช่วยขจัดความเสี่ยงเฉพาะตัว (Specific risk) ของหลักทรัพย์ได้
Stephen Ross มองว่าอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์น่าจะถูกกำหนดด้วยหลายปัจจัย โดยมีใจความว่า อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์จะถูกกำหนดด้วยปัจจัยมหภาคกลุ่มหนึ่งโดยอาจเขียนสมการได้ดังนี้
ข้อได้เปรียบของแบบจำลอง Arbitrage Pricing Theory มีข้อได้เปรียบกว่าแบบจำลอง CAPM คือผู้วิเคราะห์สามารถระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนที่คาดหวังได้อย่างชัดเจนดังนั้นหากสามารถระบบขอบเขตของการลงทุน (Investment Universe) และคาดการณ์ผลตอบแทนตลาดได้เเล้ว จะสามารถพยากรณ์ค่าพารามิเตอร์ได้อย่างตรงไปตรงมา โดยใช้สมการถอถอยซึ่งมีสองแนวทางคือ Single Index Market Model และ Excess Return Form
อย่างไรก็ตามแบบจำลอง Arbitrage Pricing Theory มีข้อจำกัดที่สำคัญในเรื่องการระบุจำนวนและการระบุปัจจัยในการวิเคราะห์ ซึ่งในปัจจุบันใช้วิธีทางสถิติที่เรียกว่า Factor Analysis แต่พบว่ายังมีข้อจำกัดที่สำคัญ แม้ว่า Factor Analysis จะสามารถระบุปัจจัยที่อธิบายความสำพันธ์ระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ แต่ไม่สามารถระบุปัจจัยความเสี่ยงในการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ว่าคือปัจจัยใดได้อย่างแน่นอน ในการนำไปใช้จริงนักเศรษฐศาตร์ได้แบ่งปัจจัยที่ระบุความเสี่ยงเป็นสองส่วนคือปัจจัยมหภาคและปัจจัยจุลยภาพ
Comments